
ระบบ C-band คืออะไร จานดาวเทียม รบบ C-band คืออะไร ความแตกต่างระหว่างระบบ C-Band และ Ku-Band เป็นอย่างไรสัญญาณที่ส่งลงมา จากดาวเทียมที่สามารถรับในประเทศไทย ปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ C-Band และ KU-Band ระบบ C-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโโดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ่งพื้นผิวแบบทึบลมจะไม่สามารถผ่านได้จึงต้านลมมากกว่าแบบโปร่ง ขนาดของจานรับสัญญาญดาวเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการ ขนาดของสัญญาณที่รับมาจากดาวเทียม ขนาดของสัญญาณรบกวน ถ้าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจากดาวเทียมกับสัญญาณรบกวนมีค่ามากเท่าใด ขนาดของจานก็จะเล็กมากเท่านั้น สัญญาณรบกวนมีที่มาได้ 3 ทางหลัก ๆ คือ สัญญาณจากฟากฟ้า สัญญาณจากพื้นโลกที่มาจากธรรมชาติ สัญญาณจากพื้นโลกที่มิใช่จากธรรมชาติ (เกิดจากมนุษย์) โดยปกติแล้วกำลังสัญญาณจากดาวเทียมจะมีค่าต่ำมาก จึงต้องได้รับการขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอลเอ็นบี (LNB) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจานดาวเทียมหลากหลายยี่ห้อ เช่น พีเอสไอ ไอพีเอ็ม ดีทีวี จีเอ็มเอ็มแซท ไทยแซท ไอเดียแซท ลีโอเทค คิวแซท ทรูวิชั่น ซีทีเอช ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบ Free To Air และแบบบอกรับสมาชิก จานดาวเทียม C-band จานดาวเทียมชนิดนี้มีลักษณะเป็นตะแกรงๆอลูมิเนียมพ่นสีดำ จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 150 cm-227cm หรือ 5 ฟุต - 7 ฟุต แต่ขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับติดตั้งภายในบ้าน ควรจะเลือกรุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150-170 cm. เพราะสัญญาณที่ได้จะแรงและมีปริมาณของสัญญาณมาก ภาพจะไม่ค่อยมีปัญหาเป็นเม็ดสี่เหลี่ยม ปัจจุบัน เครื่องรับสัญญาณ จานดาวเทียม จะมีระบบ OTA (Over to Air) คือการปรับปรุงช่องรายการโดยผ่านดาวเทียม ส่งตรงเข้าสู่ จานดาวเทียม ระบบ c-band ครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นทวีป เมื่อสัญญาณมีบีมที่กว้าง ก็ทำให้สัญาณอ่อนกว่า ระบบ ku-band เวลารับจึงต้องใช้จานที่ขนาดใหญ่กว่าไปรับ ทำให้การติดตั้งทำได้ยากกว่า แต่ข้อดีของระบบนี้คือ ใช้ในการส่งสัญญาณข้ามทวีป หมายความว่า หากเราไปอยู่ที่ยุโรปหรือข้ามฝังไปอยู่ที่ออสเตรเลีย เราก็ติดจาน c-band รับรายการทีวีไทยได้ หรือในทางกลับกันคนต่างชาติเข้ามาอยู่ที่ไทยก็ติดจาน c-band รับรายการทีวีที่บ้านเขาได้เช่นกัน เช่น ช่อง BBC อังกฤษ ช่อง TV5 ฝรังเศษ NHK ญี่ปุ่น DW เยอรมัน และอีกกว่า 60 ประเทศ 350 ช่องรายการ ข้อดี 1.จานดาวเทียม ระบบ C-BAND จะสามารถยังรับชมภาพได้ขณะที่ฝนตก 2.การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายราคาประหยัดเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบ C-band นั้นราคาไม่สูงมาก 3.รายการช่องจะมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา มีระบบ OTA 4.ติดตั้งครั้งเดียวจบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะเป็นช่องฟรีทีวีรับช่องรายการได้ มากกว่า 250 ช่อง ข้อเสีย 1.จานดาวเทียม อาจจะมีขนาดใหญ่ สำหรับลูกค้าบางท่านที่ไม่ต้องการเพราะใช้พื้นที่เยอะ 2.ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่า จานดาวเทียม ระบบKU-band 3.การติดตั้งยากพอสมควร ต้องอาศัยความชำนาญ และสำหรับบ้านที่ไม่มีดาดฟ้า 4.การ ซ่อมบำรุง ทำได้ยากกว่ากรณีที่บ้านไม่มีพื้นที่ให้ติด จานดาวเทียม 5.กรณีที่บ้านไม่มีพื้นที่ติดตั้ง จานดาวเทียม อาจต้องใช้อุปกรณเสริมเพิ่ม ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น |